Page 21 - หลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นเอก ระดับประถมศึกษา
P. 21

ส่วนปรมัตถปฏิปทา





            ๑. นิพพิท� คว�มเบื่อหน่�ย


                                อุทเทสแห่งนิพพิทา (หัวข้อแห่งนิพพิทา)


                  หัวข้อธรรมที่ยกขึ้นตั้งเป็นหัวข้อสำาหรับอธิบายนิพพิทา ความเบื่อหน่ายนั้น มี ๒ หัวข้อ

            ดังนี้


                              ๑. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ  จิตฺตํ ราชรถูปมํ

                                ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ.
                              สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้  อันตระการดุจราชรถ

                              ที่พวกคนเขลาหมกอยู่  แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.

                                               โลกวรรค  :  ขุททกนิกาย ธรรมบท







                            ๒. เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

                                ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร.

                                               จิตตวรรค  :  ขุททกนิกาย ธรรมบท





                                นิทเทสแห่งนิพพิทา (บทอธิบายนิพพิทา)



                  นิพพิทา แปลว่า ความเบื่อหน่าย ในที่นี้หมายเอา นิพพิทาญาณ หมายถึง ความเบื่อหน่าย

            ที่เกิดจากใช้ปัญญาพิจารณาเห็นความจริงของโลกที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง
            เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ แล้วเกิดความเบื่อหน่าย

            ในโลกที่ตนเคยยึดมั่นยินดี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวไปสู่พระนิพพาน ส่วนความเบื่อหน่าย

            ที่เป็นไปตามอำานาจกิเลส เช่น เบื่ออาหาร เบื่อคนรัก เบื่อการเรียน เป็นต้น ไม่จัดเป็นนิพพิทา






                                                วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษา ชั้นเอก ระดับประถมศึกษา  19
   16   17   18   19   20   21   22   23