Page 20 - หลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นเอก ระดับประถมศึกษา
P. 20
คำบเรียนที่
๑
๑ ธรรมวิจารณ์
ธรรมวิจารณ์ แปลว่า การพิจารณาหรือการอธิบายธรรมะให้ได้ความหมาย เกิดความรู้
ความเข้าใจ ความเห็นที่ถูกต้องตามธรรมอย่างถ่องแท้ อันจะนำาไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
และบังเกิดผลที่ดีงาม ดังพระบาลีที่ว่า
อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ.
รู้อรรถทั่วถึงแล้ว รู้ธรรมทั่วถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
ด้วยเหตุนี้ การวิจารณ์ธรรมจึงถือเป็นกิจจำาเป็นและมีความสำาคัญต่อการศึกษาพระ-
พุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เราชาวพุทธควรที่จะใส่ใจ อนึ่ง การวิจารณ์ธรรมนั้นผู้วิจารณ์จะต้อง
มีความรู้ความเข้าใจในธรรมเป็นอย่างดีจึงจะวิจารณ์ธรรมได้ดีและไม่ผิดเพี้ยน ดังนั้น ท่านจึง
กำาหนดให้เป็นหลักสูตรของธรรมศึกษาชั้นเอก ซึ่งมีภูมิธรรมมากพอสมควรแล้ว โดยในชั้นนี้
กำาหนดเนื้อหาไว้ ๑ ส่วน คือ ส่วนปรมัตถปฏิปทา
คำาว่า ปรมัตถปฏิปทา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นการวิเคราะห์
วิจารณ์เกี่ยวกับหลักธรรมหรือข้อปฏิบัติที่เป็น
ทางให้ถึงประโยชน์อันสูงสุดคือพระนิพพาน
มี ๖ ประการ คือ
๑. นิพพิทา ความเบื่อหน่าย
๒. วิราคะ ความสิ้นกำาหนัด
๓. วิมุตติ ความหลุดพ้น
๔. วิสุทธิ ความหมดจด
๕. สันติ ความสงบ
๖. นิพพาน ความดับทุกข์
18 บริษัท ส�ำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศำสน์ จ�ำกัด